ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องอัดอากาศที่เหมาะสมนั้นแบ่งออกเป็น 9 ข้อ: แรงดัน, ปริมาณลม, ความจุ, สเป็คของแหล่งจ่ายไฟ, ข้อกำหนดในการปกป้องสิ่งแวดล้อม, วิธีการติดตั้ง, วิธีการทำความเย็น, ข้อกำหนดด้านเสียง, วิธีการควบคุม และข้อกำหนดด้านคุณภาพ เราจะอธิบายวิธีการเลือกดังต่อไปนี้
ปัจจัยที่ 1 แรงดัน
แรงดันลมของเครื่องอัดอากาศหน่วยเป็น(กก./ซม.²) วิธีการเลือกเครื่องอัดอากาศนั้น อันดับแรกเราต้องทราบแรงดันที่เราต้องการใช้ก่อน แต่เราไม่สามารถนำตัวเลขแรงดันนั้นมาตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องได้ เพราะในระหว่างที่เครื่องจักรทำการอัดอากาศเกิดการสูญเสียบางส่วน ทำให้เราต้องเลือกเครื่องอัดอากาศที่มีแรงดังสูงกว่าแรงดันที่ท่านต้องการใช้เสมอ
แรงดันในท่อ: การสูญเสียอากาศอัดในท่อคล้ายกับรถที่วิ่งบนถนน เมื่อถนนกว้าง ตรง และสั้น มีทางโค้งน้อย สามารถลดเวลาการจราจรได้ โดยทั่วไปการสูญเสียของท่อจะอยู่ที่ประมาณ 0.5 กก./ซม.² แต่อากาศที่อัดแล้วจะต้องผ่านการประมวลผลโดยระบบทำความสะอาด การอบแห้ง การแลกเปลี่ยนความร้อนผ่านท่อและกระบวนการทำความสะอาดผ่านตัวกรอง ซึ่งจะทำให้แรงดันตกประมาณ 0.3~ 0.5 กก./ซม.² (ตัวกรอง +เครื่องดูดความชื้น)
ปัจจัยที่ 2: ปริมาณลม
ก่อนที่จะวิเคราะห์ปริมาณลม เราต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่างปริมาณลมที่อัดจริงและปริมาตรกระบอกสูบที่สามารถรองรับได้
อัตราส่วนกำลังอัด: ใช้เครื่องมือวัดปริมาณอากาศที่ส่งออกจากเครื่องอัดอากาศ ด้วยวิธีการทดสอบมาตรฐาน
ปริมาตรกระบอกสูบ: การคำนวนปริมาตรของกระบอกสูบ สามารถคำนวณสูตรตามทฤษฎีเชิงอนุมาน ไม่รวมการสูญเสียพลังงานและปัจจัยด้านคุณภาพ โดยทั่วไปการบีบอัดแบบขั้นตอนเดียวคูณด้วย 0.65 และการบีบอัดแบบสองขั้นตอนคูณด้วย 0.8 จะใกล้เคียงกับการกระอัดที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้น การเลือกเครื่องอัดอากาศควรคำนึงถึงปริมาณไอเสียโดยใช้สูตรต่อไปนี้:
A :) ปริมาณความต้องการในปัจจุบัน100%)
B:) ปริมาณการไหลของท่อที่เป็นไปได้ (10%)
C :) แผนการเพิ่มเติมในอนาคต (20%~50%)
D :) ขอบการใช้การ (10%~30%)
สูตรในการเลือกปริมาตรลมที่ต้องการ = (A+B+C) x (1+D) เมื่อค่า C มากขึ้น ค่า D จะลดลง ดังนั้นข้อควรระวังคือปริมาณลมที่ปล่อยออกมาจะต้องตรงตามมาตรฐาน "ปริมาณลมที่ต้องการใช้จริง"
วิธีการเลือกซื้อ
ปัจจัยที่ 3: แหล่งจ่ายไฟ
มอเตอร์ที่ใช้ในเครื่องอัดอากาศสามารถแบ่งออกเป็นเฟสเดียวและสามเฟสตามแหล่งจ่ายไฟ:
เฟสเดียว: แรงดันไฟฟ้าปกติมี 110V, 220V เพื่อความสะดวกและปลอดภัย 110V สามารถใช้ได้ต่ำกว่า 1HP, 220V สามารถใช้ได้ที่สูงกว่า 1HP และแหล่งจ่ายไฟแบบเฟสเดียวไม่เหมาะสำหรับเครื่องอัดอากาศที่มากกว่า 5 แรงม้า
สามเฟส: ส่วนใหญ่สามารถใช้กับเครื่องอัดอากาศแรงดันไฟฟ้าทั่วไปประมาณ 220V, 380V, 440V และมอเตอร์ที่ต้องใช้แรงม้าขนาดใหญ่
ประเทศและภูมิภาคต่างกันมีแหล่งจ่ายไฟที่ไม่เหมือนกัน แรงดันไฟฟ้าที่ต่างกัน ความถี่ที่ต่างกัน และกฎระเบียบทางไฟฟ้าที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นก่อนซื้อเครื่องอัดอากาศ ท่านต้องระบุแรงดันไฟฟ้า ความถี่ และจำนวนเฟสที่ท่านต้องการใช้ให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถประกอบเครื่องอัดอากาศ ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้า ทดสอบแรงดันไฟฟ้าได้ตรงตามความต้องการของท่าน ก่อนใช้เครื่องอัดอากาศ ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า แรงดันไฟฟ้าที่ท่านต้องการนั้นตรงกับแผ่นป้ายที่เครื่องอัดอากาศสามารถจ่ายได้หรือไม่
ปัจจัยที่ 4: ข้อกำหนดด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
เครื่องอัดอากาศสามารถแบ่งออกเป็นเครื่องอัดอากาศแบบใช้น้ำมันและเครื่องอัดอากาศแบบไม่ใช้น้ำมันตามโครงสร้าง ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อตามความต้องการและการใช้งานของท่าน
· แบบมีน้ำมัน: เครื่องอัดอากาศชนิดที่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นในการหล่อลื่นภายในและใช่เติมในส่วนบีบอัดของตัวเครื่อง จะเรียกเครื่องชนิดนี้ว่าเครื่องอัดอากาศชนิดมีน้ำมัน อากาศที่ผลิตขึ้นจะประกอบด้วยน้ำมันและก๊าซเล็กน้อย เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป แต่เครื่องอัดอากาศชนิดนี้สามารถติดตั้งตัวกรองเพื่อขจัดปริมาณน้ำมันได้ โดยทั่วไป หลังจากเครื่องจักรใหม่เริ่มทำงานไปแล้วซักระยะนึง จะต้องทำการเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น และจะต้องเปลี่ยนเป็นประจำ หากเปลี่ยนอย่างผิดวิธีหรือเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่ไม่เหมาะสมจะทำให้ชิ้นส่วนภายในของเครื่องอัดอากาศเสียหาย โปรดดูคู่มือสำหรับการเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่ถูกต้องและวิธีการบำรุงรักษาเติมน้ำมันหล่อลื่นตามระยะเวลาที่กำหนด อุสาหกรรมที่ใช้เครื่องอัดอากาศชนิดนี้เช่นอุสาหกรรมเหล็ก พลาสติก แม่พิมพ์ อุตสาหกรรมแปรรูป และการใช้งานด้านการผลิตทั่วไป
· แบบไม่มีน้ำมัน: เครื่องอัดอากาศแบบไร้น้ำมันนั้นใช้วัสดุที่หล่อลื่นแบบพิเศษที่สามารถหล่อลื่นด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น ดังนั้นจึงไม่มีน้ำมันในอากาศ ซึ่งเครื่องจักรประเภทนี้สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมที่ต้องการอากาศที่บริสุทธิ์ปราศจากน้ำมันเจือปน ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการความแม่นยำ การแพทย์ อาหาร เซมิคอนดักเตอร์ เคลือบ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยปกติแล้วเครื่องอัดอากาศแบบน้ำมันมักจะมีปัญหาเรื่องน้ำมันเสีย ปัญหามลพิษที่มาจากน้ำมัน ซึ่งทำให้ต้องมีเจือจางการอย่างเหมาะสมตามข้อกำหนดของกฎหมายและข้อบังคับของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยที่ 5: วิธีการติดตั้ง
ท่านสามารถเลือกเครื่องอัดอากาศตามสถานการณ์และการใช้งาน
· ประเภคเคลื่อนที่ได้: เครื่องอัดอากาศขนาดเล็กเคลื่อนที่ได้ทั้งหมด โดยใช้ล้อสองหรือสี่ล้อเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายของผู้ใช้
· ประเภทคงที่: เครื่องอัดอากาศขนาดใหญ่ไม่เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายเนื่องจากปริมาตรและน้ำหนักและความจำเป็นในการวางท่อแบบตายตัว เพื่อลดการสั่นสะเทือนและเสียงรบกวน
ปัจจัยที่ 6: ฟังก์ชั่นการทำความเย็น
ประโยชน์ของฟังก์ชั่นการทำความเย็นมีดังนี้:
· ลดอุณหภูมิของเครื่องทำให้สามารถยืดอายุเครื่องและลดปริมาณการใช้น้ำมัน
· ดูดความชื้นในขณะที่เครื่องจักรทำงาน ทำให้อุณภูมิภายในเครื่องลดลง ทำให้เครื่องจักรทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น และสามารถป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากความร้อนของเครื่องสูงเกินไปได้อีกด้วย
วิธีการคลายร้อนของเครื่องอัดอากาศสามารถแบ่งออกเป็น:
· แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ: ต้องติดตั้งระบบส่งน้ำหมุนเวียนเพื่อระบายความร้อน ใช้การไหลของน้ำเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างกระบอกสูบและท่อร่วมไอเสีย เป็นวิธีการกระจายความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ใช้แรงม้าสูง
· แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ: ใช้กระแสลมเย็นที่เกิดจากพัดลมใช้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างกระบอกสูบกับท่อไอเสียซึ่งเป็นวิธีการระบายความร้อนที่เรียบง่ายและสะดวกรวดเร็ว วิธีการกระจายความร้อนนี้เป็นวิธีการระบายความร้อนที่นิยมใช้ในสากล ใช้กับเครื่องอัดอากาศเล็กหรือเครื่องอัดอากาศใหญ่ก็ได้
ข้อควรระวังในการติดตั้งเครื่องอัดอากาศ:
พื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้งต้องคำนึงถึงระบบระบายอากาศที่ดีและมีพื้นที่เพียงพอเป็นหลักการแรก เครื่องอัดอากาศแบบสูบจึงจำเป็นต้องเว้นระยะห่างระหว่างตัวเครื่องจักรและกำแพงอย่างน้อย 30 ซม. เครื่องอัดอากาศแบบเกลียวต้องมีระยะห่างระหว่างตัวเครื่องกับผนังอย่างน้อย 1 ม. และระยะห่างจากหลังคาอย่างน้อย 1.5 ม.
ปัจจัยที่ 7: ระดับเสียงที่กำหนด
เสียงของเครื่องอัดอากาศมักจะเกิดจากหลากหลายปัจจัย เช่น การบีบอัดอย่างรวดเร็วของอากาศ และการหมุนเวียนของตัวเครื่อง เสียงของอากาศเข้าออก เสียงของกระแสลม เสียงการเสียดสี และ เสียงการทำงานของพัดลมระบายความร้อน เป็นต้น
· เสียงจากกระบวนการสร้างพลังงาน: เสียงจากการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเสียงขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ภายในเครื่องอัดอากาศ
· เสียงจากความไม่สมดุลของตัวเครื่อง: เมื่อฐานของเครื่องจักรไม่สมดุล ซึ่งอาจเกิดจากการผิดผลาดในการติดตั้ง ทำให้เวลาเครื่องจักรทำงานตัวเครื่องและแผ่นโลหะเกิดการกระทบกันจนเกิดการสั่นสะเทือนและมีเสียงดัง
· เสียงจากการรั่วไหลของความดันลม: การรั่วไหลของท่อไอเสียและก๊าซแรงดันสูงจะทำให้เกิดเสียงดัง เนื่องจากวิธีการใช้งานและโครงสร้างของเครื่องจักรแต่ละรุ่นที่แตกต่างกัน ทำให้ระดับเสียงที่ผลิตจึงแตกต่างกัน:
-
- ประเภทลูกสูบแบบเปิด: เสียงเกิดขึ้นจากการทำงานของลูกสูบที่ไม่ถูกปิดกั้นคลื่นเสียงจังกระจายสู่อากาศ แต่ถ้าเครื่องอัดอาการมีแรงม้าขนาดเล็กจะเกิดเสียงรบกวนไม่มากนักและไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าเครื่องอัดอากาศที่มีแรงม้าสูงในขณะทำงานจะเกิดเสียงดัง ทำให้ต้องทำการเฝ้าระวังและทำการดูแลให้เหมาะสม
- ประเภทลูกสูบแบบกล่อง: แม้ว่าอะไหล่ภายในตัวเครื่องของเครื่องจักรประเภทนี้จะทำงานเหมือนกับรุ่นแบบเปิด แต่เนื่องกล่องเราทำการออกแบบพิเศษ จากแผ่นโลหะที่สามารถดูดซับเสียงได้ดี มีคุณภาพสูง กันกระแทกได้ ทำให้ช่วยลดการสั่นสะเทือนของตัวเครื่องและเสียงรบกวนได้มากเลยทีเดียว
- ประเภทเกลียว: เนื่องจากโหมดการทำงานที่แตกต่างกันระหว่างเกลียวกับลูกสูบ เสียงที่ผลิตจึงแตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วประเภทเกลียวจะเป็นรูปทรงกล่อง และแผ่นโลหะใช้วัสดุดูดซับเสียงขั้นสูง วัสดุป้องกันการสั่นสะเทือน และการออกแบบฉนวนกันเสียงที่ปิดกั้นแหล่งกำเนิดเสียง ดังนั้น ค่าเสียงรบกวนมักจะต่ำกว่าเครื่องอัดอากาศประเภทลูกสูบ
การป้องกันเสียงรบกวนนั้นสามารถทำได้เพียงลดระดับเสียงที่สูงเกินไปให้อยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยอมรับได้ โดยปกติแล้วเสียงจะต้องต่ำกว่า 75 เดซิเบล แต่ถ้าจากการพิจารณาการใช้งาน งบประมาณและไม่มีข้อจำกัดด้านสภาพแวดล้อมมากเกินไป โมเดลเปิดเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมเนื่องจากราคาไม่สูงมากนัก แต่ถ้าท่านคำนึงถึงคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่มีเสียงรบกวน เครื่องอัดอากาศแบบกล่องเป็นตัวเลือกที่สามารถตอบสนองความต้องการของท่านได้มากกว่า
ปัจจัยที่8: วิธีการควบคุม
ท่านควรเลือกวิธีการควบคุมเครื่องอัดอากาศที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานและปริมาณที่ต้องการใช้งานตามอุสาหกรรมที่ของท่าน เพื่อให้เครื่องจักรของท่านได้รับแรงดันที่เหมาะสมตรงตามประสิทธิภาพการใช้งานและสามารถยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรได้อีกด้วย โดยมินิคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการทำงานของเครื่องอัดอากาศของเราแบ่งตามวิธีการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การทำงานกึ่งอัตโนมัติและการทำงานอัตโนมัติเต็มรูปแบบ
· กึ่งอัตโนมัติ: เราใช้ระบบขนถ่ายอัตโนมัติเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องอัดอากาศ หลักการทำงานของมันคือเมื่อความดันอากาศของระบบเกินขีดจำกัดจากระบบที่ตั้งไว้ วาล์วระบายอากาศอัตโนมัติและถ้าความดันอากาศลดลง ระบบจะขับเคลื่อนลูกสูบอีกครั้ง
· อัตโนมัติเต็มรูปแบบ: ใช้แรงดันของสวิตช์(Pressure Switch System) ควบคุมการทำงานของมอเตอร์ เมื่อความดันอากาศของระบบเกินขีดจำกัด มากกว่าแรงดันที่กำหนด สวิตช์รีเลย์จะดับ วงจรจ่ายไฟของมอเตอร์และเครื่องอัดอากาศจะหยุดทำงาน เมื่อแรงดันของระบบลดลงต่ำกว่าขีดจำกัด สวิตช์รีเลย์จะเปลี่ยนอัตโนมัติ มอเตอร์และเครื่องอัดอากาศจะกลับมาทำงานอีกครั้งเพื่อนำอากาศที่อัดกลับคืนมา วิธีนี้เหมาะสำหรับการใช้งานต่อเนื่องแต่ไม่บ่อยนัก และเหมาะกับตัวเครื่องที่มีแรงม้าน้อย
ในการใช้งานจริงเราใช้แอพพลิเคชั่นในการควบคุม ดังนั้นต่อไปนี้ท่านจะสามารถทำให้การทำงานของเครื่องอัดอากาศนั้นยืดหยุ่นมากขึ้น
คำแนะนำ:
◆ การควบคุมการเลือกแบบเต็ม/กึ่งอัตโนมัติ เราแนะนำให้ท่านเลือกระบบควบคุมที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ท่านใช้จริง
◆ การควบคุมการแปลงอัตโนมัติแบบเต็ม/กึ่งอัตโนมัติ - ระบบควบคุมไมโครคอมพิวเตอร์สามารถเลือกโหมดการควบคุมได้โดยอัตโนมัติตามสภาวะการทำงาน
วิธีการควบคุมประเภทสกรูหรือเมนเฟรมนั้นมีความหลากหลายและซับซ้อนมากกว่า ซึ่งจะอธิบายในบทความอื่นภายหลัง
ปัจจัยที่ 9: ข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพ
เครื่องอัดอากาศประเภทต่าง ๆ มีข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพที่แต่ต่างกัน เนื่องจากการออกแบบโครงสร้าง แรงดันใช้งาน การแทนที่ และจำนวนขั้นตอนการบีบอัดของเครื่องจักรแต่ละประเภทต่างกัน:
· แรงดันต่ำ แรงม้าต่ำ ส่วนใหญ่เลือกประเภทลูกสูบ
· สำหรับรุ่นที่ต่ำกว่า 10HP และจำเป็นต้องปิดเสียง คุณสามารถเลือกประเภทการสกรูหรือประเภทกล่องก็ได้
· สูงกว่า 20 แรงม้า (HP): ส่วนใหญ่เลือกประเภทสกรูหรือแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ
· แรงดันสูงกว่า 12 HP.: ควรเลือกเครื่องอัดอาการชนิดลูกสูบแรงดันสูงหรือแบบการอัดอาการแบบสองขั้นตอน